ลูกเนียงพระเครื่อง รับประกันของแท้ 100% ทุกองค์
พระเกจิอาจารย์ในถิ้นแถบด้ามขวานทอง วัดควนเถียะ หรือชื่อในปัจจุบันคือ วัดสุขาสิทธาราม’ หลายคนเห็นคำว่า ‘สุขา’ ไงหวนนึกถึงแต่ห้องน้ำไปได้ ความจริงคำว่า ‘สุขา’ หมายถึง ความสุข
วัดควนเถียะ ตั้งอยู่ที่ตำบลนางหลง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอดีตเจ้าอาวาสวัดนาม ‘พระอุปัชฌาย์สุข’ หรือที่ชาวบ้านต่างเรียกขานท่านว่า ‘ตาหลวงสุข’ เหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรกของท่านสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ มีประสบการณ์โชกโชนเป็นที่กล่าวขานของคนเมืองคอน
ปูมหลังตาหลวงสุขกล่าวว่า เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่บ้านควนใส่ ตำบลเสม็ด (ปัจจุบันแยกตัวออกมาตั้งเป็นตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายหนู หนูทอง และนางนุ้ย หนูทอง
ต่อมาเมื่อมีอายุได้ ๑๒ ปี บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์พ่อท่านกลั่น วัดท่าเสม็ด ตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ อายุได้ ๑๙ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดท่าเสม็ด มีพระครูชลาการสุมล (เดช ธมฺติสโส) เจ้าอาวาสวัดควนเกย ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบรรพชาแล้วพ่อท่านเดชได้นำสามเณรสุขมายังวัดควนเกยด้วย จากนั้นได้นำไปฝากที่วัดสวนหลวง ตำบลในเมืองอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้สอบนักธรรมตรีได้ในพรรษานั้น
ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ อายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดควนเกย เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ มีพระครูชลาการสุมล (เดช ธมฺติสโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ชู วัดสำนักขัน อำเภอจุฬาลงกรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ภายหลังอุปสมบทแล้วได้กลับมาจำพรรษาที่วัดสวนหลวง และสอบนักธรรมโทได้ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ หลังจากออกพรรษาแล้วตาหลวงสุขได้มาจำพรรษาที่วัดน้ำรอบ ตำบลลานสกา อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีความเงียบสงบเหมาะการการฝึกวิปัสสนากรรมฐาน
หลังออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ตาหลวงสุขได้ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ยาวนานถึง ๑๕ ปี จนในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ จึงได้มาจำพรรษากับอาจารย์แดง พิชัยยุทธ เป็นเวลา ๑ พรรษา จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๗๙ ตาหลวงสุขได้มาจำพรรษาที่วัดโคกทราง ตำบลนางหลง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้ช่วยเหลือพัฒนาวัดจนมีความเจริญรุ่งเรือง
แต่แล้วในปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ตาหลวงสุขได้เกิดอาพาธเป็นฝีที่บริเวณลำคอ เรียกกันว่า ‘ฝีปรอท’ รักษาหลายต่อหลายแห่งอาการก็ไม่ดีขึ้น ทำให้ท่านต้องทนทุกข์ทรมานกับความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก จนผู้เป็นพี่สาวได้ขอให้ท่านลากสิกขาเพื่อจะได้สะดวกในการรักษา หลังจากกลับมารักษาที่บ้านได้ราว ๖-๗ เดือนอาการก็ดีขึ้นและหายในที่สุด
จนเมื่อราวกลางปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ทราบว่าพี่สาวที่ชื่อ ‘ปล้อง’ ได้ไปสู่ขอผู้หญิงคนหนึ่งไว้เพื่อเป็นคู่ครองของตาหลวงสุข จนได้ตัดสินใจออกจากบ้านเดินทางไปยังวัดควนปันแต หรือวัดควนปันตาราม ตำบลควนแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ไปกราบพระครูรัตนาภิรัต (แก้ว) เจ้าอาวาสวัด เพื่อขออุปสมบท โดยได้อุปสมบท ณ วัดควนปันแต เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ มีพระครูรัตนาภิรัต (แก้ว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พ่อท่านคล้อย เจ้าอาวาสวัดสุนทราวาส ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพ่อท่านกลั่น วัดควนปันแต เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังอุปสมบทแล้วได้ไปจำพรรษาที่วัดควนใส ตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
ทันที เพราะหลังอุปสมบทวันรุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษา
หลังจำพรรษาที่วัดควนใสจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ตาหลวงสุขได้มาบูรณปฏิสังขรณ์วัดร้างที่บ้านควนเถียะ คือ วัดควนเถียะ หรือวัดสุขาสิทธาราม โดยตาหลวงสุขพร้อมด้วยพระภิกษุ สามเณร จำนวน ๑๔ รูป ได้ย้ายขากวัดควนใสมาจำพรรษาที่วัดควนเถียะเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลท่าเสม็ด ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
ตาหลวงสุขมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ สิริอายุ ๘๒ ปี พรรษาที่ ๖๒
กล่าวสำหรับวัตถุมงคลตาหลวงสุขได้สร้างเหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เพื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างพระประธานวัด พบเห็น ๓ บล็อก คือ
- บล็อก ด้านหลังตัว ‘อะ’ ขาด
- บล็อก ด้านหลังดาวกระจาย
- บล็อกธรรมดา
แต่ที่นิยมเล่นหากันจะเป็น ๒ บล็อกแรก อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นบล็อกไหนล้วนแล้วแต่เป็นเหรียญที่สร้างในคราวเดียวกัน ตาหลวงสุขปลุกเสกเหมือนกันหมด
เหรียญพระอุปัชฌายะสุข รุ่นแรก บล็อก
ด้านหลังตัว ‘อะ’ ขาด
เหรียญนี้สภาพสวยมากพร้อมทอง