|
|
พระผงพระพุทธคุณผสมชันโรง พระครูกาแก้ว 2485 สร้างในวาระที่เกิดสงคราม และมีการปะทะกันกับญี่ปุ่นที่ท่าแพ นครศรีธรรมราช กดพิมพ์พระในอุโบสถ วัดหน้าพระบรมธาตุ ปลุกเสกที่วัดศาลามีชัย วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2485 โดยมีเกจิที่ร่วมปลุกเสกคือ 1.พ่อท่านพุ่ม วัดจันพอ 2.พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน (ขณะนั้นอายุ 66 ปี นี่คือพระเครื่องชุดแรกๆของพ่อท่านที่มาร่วมปลุกเสก) 3.พระครูสุนทร วัดดินดอน 4.พ่อท่านเอียดดำ วัดศาลาไพ 5.พระครูกาเดิม วัดบุราณาราม 6.พระครูกาแก้ว (หมุน) 7.พ่อท่านคง วัดร่อนนา 8.พระครูคีรีสมานคุณ (พระอาจารย์เรือง เจ้าคณะหมวด อำเภอเมือง) 9.พระอาจารย์เลื่อน วัดชั้น ลานสกา 10.พระอาจารย์ชู วัดปากระวะ หัวไทร ผู้รักษาเวลาในพิธี ผงศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาสร้างพระเช่น ผงพระพุทธคุณพระพุทธนมิตร นะโมย่องตาม้า นะโมถอดรูป นะโมถอดห่วง ปถมังพินทุ ปถมังโลกีย์ ปถมังโลกุตตร์ ตรีนิสิงเห นะปัดตลอด ว่านเกษร 108 พระผงหักทั่ดท่าโพธิ์ใต้ และชันโรง เป็นต้น เนื่องจากคติความเชื่อว่าชันโรงเป็นตัวช่วยป้องกันไม่ให้วัตถุที่ลงอาคม เช่น เม็ดกริ่ง กระดาษสาเขียนยันต์ ผงใบลาน พระคาถา ที่คณาจารย์ทำพิธีและบรรจุไว้ในพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ตลอดจนวัตถุมงคลอื่นๆ หลุดออกไปจากวัตถุมงคล การทำชันโรงประกอบขึ้นเป็นวัตถุมงคลนั้นถือ ว่าเป็นพิธีกรรมที่สืบทอดมาแต่โบราณ ผู้ทำจะต้องทรงวิทยาคุณแก่กล้า และรู้จักวิธีการ "หา" ชันโรง ที่นิยมใช้กันมาแต่โบร่ำโบราณจะเป็นชันโรงใต้พื้นดิน โดยจะต้องเริ่มสังเกตโพรงบนพื้นดินที่ยื่นขึ้นมาเป็นรูปกรวย ซึ่งตรงกลางจะกลวง กรวยดินนี้จะกระจัดกระจายอยู่ในละแวกเดียวกันหลายกรวย ซึ่งก็คือทางเข้าออกของตัวชันโรงที่อยู่ใต้ดิน ให้สังเกตบริเวณใกล้ๆ กันนั้นมักจะมีจอมปลวกขึ้นอยู่ด้วย เมื่อพบแล้วต้องทำพิธีกรรมตามตำรา แล้วขุดลงไป บางทีต้องขุดลึกถึง 1-2 เมตร จึงจะได้ชันโรงตามที่ต้องการ ส่วนชันโรงอีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาทำวัตถุอาถรรพ์ ก็คือ ชันโรงที่พบในโพรงไม้ที่ยืนตายซากโบราณท่านว่าดีนักแล ณ ปัจจุบันจะหาใครทำชันโรงประกอบขึ้นเป็นสิ่งมงคลได้ยากแล้ว คนที่รู้จักก็น้อยลง และรังชันโรงก็ถูกตึกรามบ้านช่องรุกราน ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปอยู่ตามท่อน้ำประปา หรือรูตามเสาไฟฟ้า ต้นไม้ที่จะเก็บยางก็ไม่มี จนดูท่าชันโรงอาจจะสูญสลายหายไปในที่สุด คติโบราณท่านถือว่านอกจากชันโรงจะช่วยปกปักรักษาของดีแล้ว ด้วยความที่ชันโรงเป็นแมลงไม่ดุร้าย จึงมีเสน่ห์ทางเมตตามหานิยมอีกด้วย ดังนั้น หากผู้ใดได้ครอบครองวัตถุมงคลที่ประกอบขึ้นด้วยชันโรงก็นับได้ว่าผู้นั้นได้ ครบถ้วนแล้วซึ่งของที่มีคุณวิเศษและเมตตามหานิยม
|
|
|