ลูกเนียงพระเครื่อง รับประกันของแท้ 100% ทุกองค์
  
หลวงปู่ทอง อายานะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2363 ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นบุตรของนายฮวด แซ่ลิ้มชาวจีนฮกเกี้ยน มารดาเป็นชาวมอญ ต่อมาท่านได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2384 ได้อุปสมบท ณ วัดบางเงินพรม ตลิ่งชันโดยมีท่านเจ้าคุณวินัยกิจจารีเถระ (ภู่) อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ของ วัดบางเงินพรม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาตามภาษามคธว่า อายะนะ หลังจากอุปสมบทมา ได้พำนักจำพรรษา ณ วัดแห่งนั้นเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และคอยอุปัฏฐากพระอุปัชฌาย์ของท่านภายหลังได้ธุดงค์วัตรเพื่อแสวงหาโมกขธรรม เมื่อพระราชโยธาก่อสร้างวัดราชโยธาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นิมนต์ท่านให้มาเป็นเจ้าอาวาส ท่านจึงเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของ วัดราชโยธา หลวงปู่ทอง อายะนะ ท่านเป็นศิษย์น้องของ สมเด็จโต วัดระฆัง และเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่แสง วัดมณีชลขันธ์ จ.ลพบุรี (ศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันอีกท่าน คือ หลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์) และตอนที่หลวงปู่เผือกสร้างพระ หลวงปู่ทองก็ยังมอบผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ซึ่งท่านแบ่งมาจากสมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ศิษย์พี่ของท่าน ให้หลวงปู่เผือกไปสร้างพระด้วย ส่วนลูกศิษย์ฆราวาสที่เคราพเลื่อมใสท่านมากก็คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย ตอนสงครามอินโดจีน พระยาพหลพลพยุหเสนา อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ยังได้นิมนต์ท่านขึ้นเครื่องบิน ไปโปรยทรายเสก รอบวัดพระแก้ว และสนามหลวง รวมทั้งบริเวณใกล้เคียง (มีเรื่องเล่าว่า  เครื่องบินทิ้งระเบิดลงมายังบริเวรวัดพระแก้วเมื่อใด  ก็จะเห็นเหมือนมีมือใหญ่ๆ ปัดลูกระเบิดลงแม่น้ำเจ้าพระยาไปสิ้น) และยังได้ขอร้องให้ท่านสร้างเสื้อยันต์เพื่อแจกทหารไปใช้ในสงคราม ซึ่งเสื้อยันต์นี้มีกิตติศัพท์เลื่องลือกันมาก ว่าแคล้วคลาดยิงไม่ถูกหรือโดนยิงแล้วไม่เป็นอะไร บางคนโดนยิงล้มลง ก็ยังลุกขึ้นมาสู้ใหม่ได้ จนได้รับฉายาว่า ทหารไทยเป็นทหารผี ซึ่งตอนนั้น เสื้อยันต์ที่ท่านสร้าง จะจารเขียนด้วยดินสอดำ  ท่านเองทำให้ไม่ทัน จึงได้ขอให้พระอาจารย์อีก 5 ท่านมาร่วมสร้างด้วย คือ 
1.หลวงปู่แช่ม วัดตาก้อง นครปฐม,
2.หลวงปู่คง วัดบางกะพ้อม,
3.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา,
4.หลวงปู่จาด วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี,
5.หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ  
นอกจากนี้ ยังมีพระเกจิอาจารย์อีกหลายท่านที่มาขอเรียนวิชาเพิ่มเติมจากหลวงปู่ทอง เช่น
หลวงปู่เหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา,
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา,
หลวงปู่คง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม,
หลวงปู่จาด วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี,
หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ,
หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันธ์ นครศรีธรรมราช,
หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ สมุทรสาคร,
หลวงพ่ออี๋ สัตหีบ 
สหายของหลวงปู่ทองที่ไปมาหาสู่กันเป็นประจำ เพื่อแลกเปลี่ยนวิชาความรู้และวิชาอาคมต่างๆก็มี 
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร,
หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท,
หลวงปู่พริ้ง วัดบางปะกอก ,
หลวงปู่ภู วัดอินทร์,
หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง,
หลวงปู่แช่ม วัดท่าฉลอง จ.ภูเก็ต,
ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม,...
หลวงปู่ปั้นวัดเงิน ตลิ่งชัน
ด้านวัตถุมงคลของท่านมีทั้งพระเครื่องเนื้อพิมพ์สมเด็จ ลูกอม ชานหมาก เสื้อยันต์ ที่เราพอจะได้เห็นกันบ้างก็คือ สมเด็จเขียวเหนียวจริง หรือพระสมเด็จกรุบึงพระยาสุเรนทร์ ซึ่งท่านสร้างและปลุกเสกให้ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็คือ เหรียญรุ่นแรก อาจารย์แก้วได้จัดผ้าป่าขึ้นมากองหนึ่งเพื่อบูรณะวัดราชโยธาในปี พ.ศ. 2477 และขออนุญาตหลวงปู่ทองสร้างเหรียญรุ่นหน้าลอยเพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาไว้เคารพ บูชาและเป็นที่ระลึก หลวงปู่ทองอนุญาตให้สร้างเหรียญพร้อมมอบเนื้อสัมฤทธิ์ส่วนหนึ่งซึ่งเหลือจาก การหล่อพระประธานในโบส์ถและยังลงยันต์อักขระในแผ่นทองแดงให้อีก 48 แผ่นให้อาจารย์แก้วเพื่อเป็นชนวนในการสร้างเหรียญ อาจารย์แก้วถามหลวงปู่ทองว่าท่านอายุเท่าใดเพราะอยากได้อายุท่านลงไว้ใน เหรียญ ท่านจึงบอกว่า อายุ 117 ปี ซึ่งความจริงในขณะนั้นหลวงปู่ทองมีอายุเพียง 114 ปี อาจารย์แก้วได้สร้างเหรียญรุ่นหน้าลอยเป็นเหรียญทองแดงจำนวน 4,800 เหรียญ เหรียญเงินจำนวน 480 เหรียญ และเหรียญทองคำจำนวน 12 เหรียญ เมื่อสร้างเหรียญเสร็จแล้วจึงนำไปให้หลวงปู่ทองปลุกเสก เป็นเหรียญรูปไข่หูในตัว ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ทองห่มจีวรหันข้างครึ่งองค์ ล้อมรอบด้วยเม็ดไข่ปลาและหนังสือไทย เขียนว่า ท่านอาจารย์ทอง วัดราชโยธา อายุ 117 ปี หลังเหรียญมีอักขระยันต์และตัวหนังสือไทยระบุว่า แก้ว คำวิบูลย์ ครั้งที่ 1เส้นขอบเหรียญแบบ 2 ชั้น หลังจากนั้นอีก 3 ปี คือปี พ.ศ. 2480 ท่านถึงได้มรณภาพ ส่วนเหรียญรุ่นหน้าจมสร้างขึ้นมาภายหลัง จำนวน 4,800 เหรียญ ซึ่งส่วนมากเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ มีชนวนเก่า เศษทอง เงิน และทองแดง ที่เหลือจากการปั้มเหรียญรุ่นหน้าลอยมาผสมด้วย เหรียญรุ่นนี้สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกในงานฌาปนกิจศพพระคุณเจ้า หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา เมื่อปี พ.ศ. 2481 ส่วนภาพถ่ายมีเพียงภาพตอนที่ท่านจะลงจากกุฏิไปฉันเพล ท่านถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชราในปี พ.ศ. 2480 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 8นับรวมอายุได้ 117 ปี 96 พรรษา เป็นพระอรหันต์ที่อยู่ได้นานที่สุดถึง 7 แผ่นดิน